ถุงน้ำดีอักเสบ

ถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) คือ
ภาวะที่เกิดการอักเสบของถุงน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะช่วยย่อยอาหาร มีขนาดเล็กคล้ายลูกแพร์ อยู่บริเวณท้องด้านขวาใกล้ตับ ตามปกติแล้ว น้ำดีช่วยในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกไขมัน น้ำดีจะไหลผ่านถุงน้ำดีไปยังลำไส้เล็ก หากเกิดการอุดตันของน้ำดี จะส่งผลให้ถุงน้ำดีบวม อักเสบ และเกิดอาการปวดได้ การอุดตันของน้ำดีมักมีสาเหตุมาจากนิ่วอุดตันในท่อถุงน้ำดี รวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำดีและเนื้องอกอื่น ๆ

ถุงน้ำดีอักเสบจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที เนื่องจากถุงน้ำดีอักเสบอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังได้หากไม่เข้ารับการรักษาหรือปรากฏอาการอักเสบซ้ำอีกครั้ง ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ไม่เข้ารับการรักษาให้หาย อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำดีแตก ซึ่งร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการของถุงน้ำดีอักเสบ
ถุงน้ำดีอักเสบเกิดจากนิ่วอุดตันในท่อถุงน้ำดี ส่งผลให้น้ำดีไหลผ่านไปยังลำไส้เล็กไม่ได้ เมื่อน้ำดีอยู่ภายในถุงน้ำดีมากเกินไป จะยิ่งเพิ่มแรงดันภายในถุงน้ำดี ก่อให้เกิดอาการบวมและอักเสบ ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบจะปรากฏอาการของโรค ดังนี้

  • ปวดบริเวณท้องส่วนบนด้านขวาหรือตรงกลาง ซึ่งมักปวดไม่น้อยกว่า 30 นาที โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียด ปวดบีบ หรือปวดตุบ ๆ บริเวณดังกล่าว
  • อาการปวดท้อง ปวดร้าวไปที่หลังหรือบริเวณใต้สะบักด้านขวา
  • อาการปวดแย่ลงเมื่อหายใจลึก ๆ
  • เกิดอาการปวดท้องหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารในปริมาณมาก หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันเยอะ
  • รู้สึกระบมที่ท้องด้านขวา ทั้งนี้ เมื่อกดบริเวณท้องจะปวดมาก และอุจจาระออกสีเทาคล้ายดินโคลน
  • ท้องอืด
  • มีไข้ขึ้นสูง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เหงื่อออก
  • เบื่ออาหาร
  • ผิวและตาขาวมีสีเหลืองคล้ายดีซ่าน

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เกิดอาการปวดท้องเฉียบพลันอย่างรุนแรง โดยเกิดอาการนานหลายชั่วโมงหรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ตัวเหลืองคล้ายดีซ่าน หรือไข้ขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากโรคถุงน้ำดีอักเสบควรได้รับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

สาเหตุถุงน้ำดีอักเสบ
ถุงน้ำดีอักเสบเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะดังกล่าว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบแบ่งได้คือ ถุงน้ำดีอักเสบที่เกิดจากนิ่ว และถุงน้ำดีอักเสบจากสาเหตุอื่น ดังนี้

การวินิจฉัยถุงน้ำดีอักเสบ ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบจะได้รับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติการรักษา และตรวจร่างกายผู้ป่วย แพทย์จะตรวจท้องส่วนบนด้านขวาว่าบวมหรือกดเจ็บหรือไม่ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้


การวินิจฉัยถุงน้ำดีอักเสบ

ผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจและวินิจฉัยว่าป่วยเป็นถุงน้ำดีอักเสบ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยแพทย์จะคอยดูแลอาการอักเสบของถุงน้ำดีและอาการป่วยอื่น ๆ การรักษาถุงน้ำดีอักเสบประกอบด้วยการรักษาเบื้องต้นและการผ่าตัด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาเบื้องต้น แพทย์จะไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ เพื่อลดการบีบตัวของหูรูดที่ถุงน้ำดี ลดการระบายสารต่าง ๆ ออกมา รวมทั้งช่วยให้ถุงน้ำดีไม่ทำงานหนัก อย่างไรก็ตาม แพทย์จะเจาะหลอดเลือดดำให้น้ำเกลือทีละหยดแก่ผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ รวมทั้งให้ยาแก้ปวดผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบให้ทุเลาลง ส่วนผู้ป่วยที่เกิดการติดเชื้อที่ถุงน้ำดี จะได้รับยาปฏิชีวนะรักษาร่วมด้วย ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเบื้องต้นติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งระหว่างที่รับการรักษาอาจอยู่จะที่โรงพยาบาลหรือกลับไปพักรักษาต่อที่บ้าน เมื่ออาการดีขึ้น การรักษาถุงน้ำดีอักเสบในขั้นต้นนี้จะช่วยให้ก้อนนิ่วที่อุดตันหลุดออกมาได้ในบางครั้ง รวมทั้งไม่ทำให้อาการอักเสบแย่ลง

ผู้ป่วยที่ผ่าตัดถุงน้ำดีออกไปสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยไม่ได้รับผลกระทบระยะยาวจากการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจได้รับผลข้างเคียงขณะพักฟื้นตัว ซึ่งเป็นผลข้างเคียงชั่วคราวเท่านั้น ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดถุงน้ำดีอักเสบที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรไปตัดไหมหลังผ่าตัดแล้วไม่เกิน 7-10 วัน ในกรณีที่แพทย์ใช้ไหมชนิดที่ไม่สลายเย็บแผลผ่าตัดให้ ระหว่างพักรักษาตัว ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ ดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำดีอักเสบ
ผู้ป่วยถุงน้ำดีอักเสบที่เข้ารับการรักษาช้า หรือไม่ได้รับการรักษา อาจประสบภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนของถุงน้ำดี มีดังนี้

การป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ
ถุงน้ำดีอักเสบไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มที่ แต่ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีอันเป็นสาเหตุของโรค เพื่อลดโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นถุงน้ำดีอักเสบได้ วิธีลดความเสี่ยงดังกล่าวทำได้ ดังนี้